BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๒ คำนาม (ตอนที่ ๑ ชำแหละคำนาม)

บทที่ ๒
คำนาม
คำนามคืออะไร?
คำนาม หรือในภาษาอิตาเลียนเรียนกว่า il norme หรือ sostantivo คงไม่ต้องนิยามกันมาก เพราะเราเรียนตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ แล้ว เราท่องขึ้นใจว่า คำนาม คือ คำที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ ที่มีทั้งรูปธรรม และนามธรรม

ตอนที่ ๑ ชำแหละคำนามในภาษาละติน
                เราลองมาชำแหละคำนามในภาษาละติน มาดูส่วนประกอบของคำนามหนึ่งคำ ว่าภายในหนึ่งคำนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่จำเป็น บางคนอาจคิดว่า คำนามในภาษาละตินมีส่วนประกอบอยู่แค่สองอย่าง คือ รากคำกับหางคำ อันนี้ไม่จริงนะครับ ขอคอนเฟิร์ม เพราะยังมีอย่างอื่นที่แฝงอยู่อีกเยอะเลย แต่ก่อนจะดูกัน ผมเห็นว่ามีคำศัพท์เทคนิคเยอะมาก ๆ ดังนั้นบางครั้งผมขอทับศัพท์เป็นภาษาอิตาเลียนนะครับ..เพื่อความเข้าใจ(ของผมเอง คริ คริ)

๑.    ๑. รากคำ (la radice) รากคำ คือ ส่วนหนึ่งของคำและเป็นส่วนแรกหรือส่วนหน้าของคำ ที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะนำมาใช้โดด ๆ ไม่ได้ ต้องมีองค์ประกอบอื่นมาต่อท้าย จึงจะนำไปใช้ได้ เช่น คำว่า rosa รากคำ คือ ros-
๒.   ส่วนนี้ผมไม่รู้ว่าภาษาไทยเรียกว่าอะไร แต่ในภาษาอิตาเลียนเรียกว่า il tema อธิบายได้ดังนี้
ในภาษาแทบทุกภาษาในโลก จะมี ตัวเสียบอยู่สองชนิดคือ ตัวเสียบหน้า (prefissi) และ ตัวเสียบหลัง (suffissi) (แต่ไม่หลังสุดนะ ยังมีต่อท้ายอีก) (เสียดายไม่มีตัวทำประตู) หรือในภาษาอังกฤษเรียนกว่า prefix และ suffix นั่นเอง
ตัวที่กั้นระหว่าง suffisso กับส่วนท้าย (desinenza) ที่เรียกกันว่า la vocale tematica พอจะแปลได้ว่า ตัวสระที่กั้นระหว่าง suffisso กับส่วนท้าย และตัว la vocale tematica แต่ตัว tema นั้นคือ ตัวที่ประกอบไป รากคำ suffisso และ la vocale tematica ครับ...สามรวมเป็นหนึ่ง เรียนกว่า tema
เช่นคำว่า  rosetum ชำแหละได้ดังนี้
ros-        คือ          รากคำ
-et-         คือ          suffisso
-o-          คือ          la vocale tematica (ซึ่งมองไม่เห็น มันล่องหนได้ด้วยครับ)
                ซึ่งสามอย่างนี้ละครับ ที่รวมกันเป็นรูปของ tema ดังนั้น tema ของคำนี้คือ roseto- (มีขีดต่อท้ายแสดงว่ายังมีต่ออีก) แต่ในคำนี้จะไม่ปรากฏตัว -o- เพราะมันได้กลายร่างเป็นตัว -u- ไปแล้ว เมื่อมันรวมตัวกับตัว -m  ซึ่งเป็นหางของเพศกลาง...งัยละครับ...งงกันไปเลย ทั้งคนเขียนและคนอ่าน แต่ไม่ใช่ว่า la vocale tematica จะแปลงร่างเสมอไปนะครับ ก็มีหลายคำที่ยังคงรูปไว้ให้เห็น
๓.   ๓.  la vocale tematica อย่างที่ได้กล่าวมาว่า ส่วนนี้คือ สระที่เชื่อมระหว่าง tema กับ หางคำ
๔.   ๔.  la desinenza หรือเรียกว่า ส่วนท้าย เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของคำ ส่วนท้าย นั้นมีรูปแบบหลากลาย โดยทำหน้าที่แบบตรรกะ (งงกันใหญ่เลย) หมายถึง ทำหน้าที่เฉพาะในประโยค เราจะรู้ว่าคำนี้ทำหน้าที่อะไรในประโยค ก็ต้องดูที่ส่วนท้ายที่ละครับ  ส่วนท้าย นั้นบ่งบอกได้สามอย่างด้วยกัน คือ เพศ (genere) พจน์ (numero) และยศ (caso) (คำว่า ยศ นั้น ผมคิดเอง เพราะถ้าใช้ศัพท์ไวยากรณ์ภาษาไทยยิ่งงงไปใหญ่ ภาษาไทยน่าจะเรียกว่า วาจก นะ ถ้าจำไม่ผิด ในภาษาอังกฤษน่าจะเรียกว่า Part of the speech) ยกตัวอย่าง คำว่า rosam ชำแหละได้ดังนี้ ros-a-m ส่วน -m  คือ ส่วนท้ายของคำครับ
๕.   ๕.  la terminazione หรือ uscita หรือที่ผมเรียกว่า หางคำ ส่วนประกอบของหางคำมีสองอย่างคือ la vocale tematica กับ la desinanza สองอย่างสิบ เอ้ย ไม่ใช่ สองอย่างเรียกว่าเป็น หางคำ ครับ เช่น คำว่า ros-a-m (อีกแล้ว ไม่มีคำอื่นหรืองัย?) หางของคำนี้คือ -am  ครับ

เฮ้อ...จบซะทีเรื่องนี้เหนื่อยเอาการนะ มาสรุปสั้นดีกว่า
๑.      la radice หรือ รากคำ คือ ส่วนที่เป็นต้นตำหรับที่ยังไม่ได้ผสมอะไร (เหมือน on the rock เลย)
๒.     il tema คือส่วนของคำที่ประกอบด้วย รากคำ, suffisso และ la vocale tematica
๓.     la vocale tematica คือ ส่วนที่กั้นระหว่าง tema กับ หางคำ หรือเรียกอีกอย่างว่า ส่วนท้ายของ tema
๔.     la desinenza หรือ ส่วนท้าย คือ ส่วนท้ายสุดของคำ ที่ทำหน้าที่บอก เพศ, พจน์ และ caso
๕.     la terminazione หรือ uscita หรือ หางคำ คือ ส่วนที่ประกอบไปด้วย la vocale tematica และ la desinenza

0 ความคิดเห็น: