BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทที่ ๒ คำนาม (ตอนที่ ๒ การกระจาย)

ตอนที่ ๒
การกระจายคำนาม (La declinazione)

การกระจาย คือ การแบ่งหน้าที่ของคำนาม คำคุณศัพท์ หรือ คำสรรพนาม ออกเป็นส่วน ๆ โดยใช้ส่วนหางเป็นตัวกับหนดหน้าที่ เพศ และพจน์

พจน์ (il numero)
มีสองอย่า คือ เอกพจน์ และพหูพจน์
เอกพจน์ (Singolare) คือ มีอันเดียว สิ่งเดียว รวมเป็นอันเดียว
พหูพจน์ (Plurale) คือ มีตั้งแต่สองอย่าง หรือของสิ่งขึ้นไป

เพศ (il genere)
เพศ คือ การกำหนดการแยกแยะหมาดหมู่ทางไวยกรณ์ของคำนาม ซึ่งสามารถแยกออกได้ดังนี้
เพศชาย (Maschile o m.) เพศหญิง (Femminile o f.) และ เพศกลาง (Nuetro o n.)
เพศกลาง หมายถึง เพศที่เป็นได้ทั้งเพศชายและเพศหญิงในคำเดียวกัน
มาดูการทำงานของเพศของคำนาม ที่เป็นสิ่งมีจิตใจ ประเภทสัตว์และมนุษย์ ระหว่างเพศทางไวยกรณ์และเพศตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถสังเกตได้ ๓ กรณีด้วยกัน ดังนี้
๑.      ๑. คำนามที่เป็นเพศชายที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงจากเพศหญิง โดยดูที่ความหมายของเพศตามธรรมชาติ เช่น
pater       พ่อ                          mater     แม่
haedus เด็กผู้ชาย capella   เด็กผู้หญิง
taurus     วัวตัวผู้                    vacca      วัวตัวเมีย

๒.    ๒. คำนามเพศชาย และ เพศหญิง ที่ใช้คำคำเดียวกัน หรือรูปคำเหมือนกัน แต่มีหางคำที่แตกต่างกัน เช่น
filius      ลูกชาย                   filia        ลูกสาว
magister อาจารย์ผู้ชาย       magistra                อาจารย์ผู้หญิง
cerbus    กวางตัวผู้               cerva      กวางตัวเมีย

๓.     ๓. คำนามที่ทั้งเพศชายและเพศหญิงใช้ร่วมกัน เช่น
canis      สุนัข (ผู้ และ เมีย)
civis       พลเมือง (ชาย และ หญิง)
sacerdos บาทหลวง (ชาย และ หญิง((ที่จริงแล้วคาทอลิกไม่มี แต่บางครั้งก็ถูกกล่าวถึงในตำรา)))

คำนามที่เป็นสิ่งไม่มีจิตวิญญาณ หมายถึง ต้นไม้ และสิ่งของ คำนามประเภทนี้ แยกได้ดังนี้
๑.      ๑. ชื่อของต้นไม้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ส่วนผลไม้เป็นเพศกลาง เช่น
pirus       f.             ต้นแพร                  pirum     n.            ลูกแพร 
cerasus   f.             ต้นเชอร์รี่              cerasum   n.         ลูกเชอร์รี่

๒.    ๒. ชื่อแม่น้ำ ชื่อสายลม ชื่อเดือน เป็นเพศชาย เช่น
Eridanus               m.           ชื่อของแม่น้ำโป
Ianuarius              m.           เดือนมกราคม
Boreas                   m.           ชื่อลมตะวันออกเฉียงเหนือ

๓.     ๓. คำนามที่เป็นเพศกลาง ที่เป็นชื่อผลไม้บางชนิด ชื่อแร่ธาตุ คำนามที่มาจากคำคุณศัพท์ คำนามที่เป็นนามธรรม ฯลฯ
aurum                    n.            ทองคำ
honestum              n.            ความซื่อสัตย์
amare                     n.            ความรัก

หน้าที่ (caso)
หมายถึง รูปแบบของคำนาม (คำคุณศัพท์ และ คำสรรพนามด้วย) ที่ถูกกำหนดด้วยหางคำ เพื่อจะได้บ่งบอกหน้าที่ทางตรรกะ (fuzione logico-sintattica) ที่เชื่อมโยงกันในประโยค
ในภาษาละติน จะไม่มี article เหมือนในภาษาอังกฤษ (a, an, the) เพราะมี caso อยู่แล้ว
cosi ในภาษาละติน มีดังนี้

Nominativo (Nom)
ทำหน้าที่เป็นประธาน เรียกว่า Soggetto เป็นประธานของ nome del predicato, attributo, apposizione, complemento predicativo del soggetto (คำพวกนี้ต้องจะเป็นภาษาอิตาเลียน จึงจะง่ายต่อการเข้าใจ เพราะไม่รู้จะใช้ศัพท์คำไหนในภาษาไทย จึงจะใกล้เคียงและเข้าใจง่าย) ต้องจำนะครับ....เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะคำในประโยคต่อไป เช่นเทียบในภาษาอิตาเลียน             
L’aquila (soggetto) ถ้าใช้ในรูปแบบที่มี articolo และส่วนใหญ่อยู่หน้าประโยคจะทำหน้าที่เป็นภาคประธาน
Questa è un’aquila. (predicato nominale) ประโยคนี้แปลว่า นี่คือนกอินทรีย์ ถ้าอยู่หลังกิริยา essere จะทำหน้าที่เป็นภาคแสดง

Genetivo (Gen)
หน้าที่นี้เรียกว่า complemento di specificazione เพราะว่าเป็นการจำกัด ชี้ชัดว่าเป็นของใคร...ของฉัน ของเธอ...ของคนนี้...ของคนนี้
ในภาษาอิตาเลียน ใช้คู่กันกับ บุพบท di, del, della, dello, dell’, delle, dei, degli
ในภาษาอังกฤษ แปลได้โดยใช้คำว่า of หรือ ’s
ยกตัวอย่าง ประโยคในภาษาอิตาเลียน
Il volo dell’aquila              การบินของนกอินทรีย์ (ของใคร? ของอะไร? นี่แหละเรียกกว่า complement di specificazione)

Dativo (Dat)
หน้าที่นี้คือ complemento di termine หมายถึง “ต่อ” “แก่”  (ใคร? อะไร?) ในภาษาอิตาเลียนสามารถแปลได้ว่า a, al, alla, allo, all’, alle, ai, agli หรือเราเรียกว่า “กรรมรอง”

Accusativo (Acc)
ทำหน้าที่เป็นกรรมตรง หรือเรียกว่า complemento oggetto (หรือถ้าเป็นส่วนขยายของกรรมตรงต้องเรียกว่า attributo dell’oggetto, apposizone dell’oggetto, predicativo dell’oggetto)

Vocativo (Voc)
ทำหน้าที่เป็น complement di vocazione หน้าที่นี้ จะไม่ใช่หน้าที่ทางตรรกะ เพียงแค่เป็นการเรียกชื่อของบุคคลหรือสิ่งของเท่านั้น

Ablativo (Abl)
ทำหน้าที่ได้หลากหลายชวนปวดหัวเอามาก ๆ สำหรับตัวนี้ เช่น complemento di agente, di mezzo, di modo, di causa, di compania, di tempo, di luogo stato, di luogo nuoto ฯลฯ)
โดยดูจาก fuzione di allontanamento (ความใกล้ไกล) fuzione strumentale (ประโยชน์การใช้) fuzione locale (แหล่งที่ตั้ง)
เช่น da chi? Da che cosa? เป็น complemento di agente

สรุป เราสามารถเรียกได้ว่า
๑.      Casi diretti (กรณีโดยตรง) มี Nom, Acc, Voc ซึ่งมีผลต่อคำกริยาโดยตรง
๒.    Casi indiretti (กรณีโดยอ้อม) มี Gen, Dat, Abl ซึ่งต้องมีบุพบทมากั้นระหว่างคำพวกนี้กับคำกริยา

วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๒ คำนาม (ตอนที่ ๑ ชำแหละคำนาม)

บทที่ ๒
คำนาม
คำนามคืออะไร?
คำนาม หรือในภาษาอิตาเลียนเรียนกว่า il norme หรือ sostantivo คงไม่ต้องนิยามกันมาก เพราะเราเรียนตั้งแต่สมัยเด็ก ๆ แล้ว เราท่องขึ้นใจว่า คำนาม คือ คำที่ใช้แทนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ ที่มีทั้งรูปธรรม และนามธรรม

ตอนที่ ๑ ชำแหละคำนามในภาษาละติน
                เราลองมาชำแหละคำนามในภาษาละติน มาดูส่วนประกอบของคำนามหนึ่งคำ ว่าภายในหนึ่งคำนั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้างที่จำเป็น บางคนอาจคิดว่า คำนามในภาษาละตินมีส่วนประกอบอยู่แค่สองอย่าง คือ รากคำกับหางคำ อันนี้ไม่จริงนะครับ ขอคอนเฟิร์ม เพราะยังมีอย่างอื่นที่แฝงอยู่อีกเยอะเลย แต่ก่อนจะดูกัน ผมเห็นว่ามีคำศัพท์เทคนิคเยอะมาก ๆ ดังนั้นบางครั้งผมขอทับศัพท์เป็นภาษาอิตาเลียนนะครับ..เพื่อความเข้าใจ(ของผมเอง คริ คริ)

๑.    ๑. รากคำ (la radice) รากคำ คือ ส่วนหนึ่งของคำและเป็นส่วนแรกหรือส่วนหน้าของคำ ที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะนำมาใช้โดด ๆ ไม่ได้ ต้องมีองค์ประกอบอื่นมาต่อท้าย จึงจะนำไปใช้ได้ เช่น คำว่า rosa รากคำ คือ ros-
๒.   ส่วนนี้ผมไม่รู้ว่าภาษาไทยเรียกว่าอะไร แต่ในภาษาอิตาเลียนเรียกว่า il tema อธิบายได้ดังนี้
ในภาษาแทบทุกภาษาในโลก จะมี ตัวเสียบอยู่สองชนิดคือ ตัวเสียบหน้า (prefissi) และ ตัวเสียบหลัง (suffissi) (แต่ไม่หลังสุดนะ ยังมีต่อท้ายอีก) (เสียดายไม่มีตัวทำประตู) หรือในภาษาอังกฤษเรียนกว่า prefix และ suffix นั่นเอง
ตัวที่กั้นระหว่าง suffisso กับส่วนท้าย (desinenza) ที่เรียกกันว่า la vocale tematica พอจะแปลได้ว่า ตัวสระที่กั้นระหว่าง suffisso กับส่วนท้าย และตัว la vocale tematica แต่ตัว tema นั้นคือ ตัวที่ประกอบไป รากคำ suffisso และ la vocale tematica ครับ...สามรวมเป็นหนึ่ง เรียนกว่า tema
เช่นคำว่า  rosetum ชำแหละได้ดังนี้
ros-        คือ          รากคำ
-et-         คือ          suffisso
-o-          คือ          la vocale tematica (ซึ่งมองไม่เห็น มันล่องหนได้ด้วยครับ)
                ซึ่งสามอย่างนี้ละครับ ที่รวมกันเป็นรูปของ tema ดังนั้น tema ของคำนี้คือ roseto- (มีขีดต่อท้ายแสดงว่ายังมีต่ออีก) แต่ในคำนี้จะไม่ปรากฏตัว -o- เพราะมันได้กลายร่างเป็นตัว -u- ไปแล้ว เมื่อมันรวมตัวกับตัว -m  ซึ่งเป็นหางของเพศกลาง...งัยละครับ...งงกันไปเลย ทั้งคนเขียนและคนอ่าน แต่ไม่ใช่ว่า la vocale tematica จะแปลงร่างเสมอไปนะครับ ก็มีหลายคำที่ยังคงรูปไว้ให้เห็น
๓.   ๓.  la vocale tematica อย่างที่ได้กล่าวมาว่า ส่วนนี้คือ สระที่เชื่อมระหว่าง tema กับ หางคำ
๔.   ๔.  la desinenza หรือเรียกว่า ส่วนท้าย เป็นส่วนที่อยู่ท้ายสุดของคำ ส่วนท้าย นั้นมีรูปแบบหลากลาย โดยทำหน้าที่แบบตรรกะ (งงกันใหญ่เลย) หมายถึง ทำหน้าที่เฉพาะในประโยค เราจะรู้ว่าคำนี้ทำหน้าที่อะไรในประโยค ก็ต้องดูที่ส่วนท้ายที่ละครับ  ส่วนท้าย นั้นบ่งบอกได้สามอย่างด้วยกัน คือ เพศ (genere) พจน์ (numero) และยศ (caso) (คำว่า ยศ นั้น ผมคิดเอง เพราะถ้าใช้ศัพท์ไวยากรณ์ภาษาไทยยิ่งงงไปใหญ่ ภาษาไทยน่าจะเรียกว่า วาจก นะ ถ้าจำไม่ผิด ในภาษาอังกฤษน่าจะเรียกว่า Part of the speech) ยกตัวอย่าง คำว่า rosam ชำแหละได้ดังนี้ ros-a-m ส่วน -m  คือ ส่วนท้ายของคำครับ
๕.   ๕.  la terminazione หรือ uscita หรือที่ผมเรียกว่า หางคำ ส่วนประกอบของหางคำมีสองอย่างคือ la vocale tematica กับ la desinanza สองอย่างสิบ เอ้ย ไม่ใช่ สองอย่างเรียกว่าเป็น หางคำ ครับ เช่น คำว่า ros-a-m (อีกแล้ว ไม่มีคำอื่นหรืองัย?) หางของคำนี้คือ -am  ครับ

เฮ้อ...จบซะทีเรื่องนี้เหนื่อยเอาการนะ มาสรุปสั้นดีกว่า
๑.      la radice หรือ รากคำ คือ ส่วนที่เป็นต้นตำหรับที่ยังไม่ได้ผสมอะไร (เหมือน on the rock เลย)
๒.     il tema คือส่วนของคำที่ประกอบด้วย รากคำ, suffisso และ la vocale tematica
๓.     la vocale tematica คือ ส่วนที่กั้นระหว่าง tema กับ หางคำ หรือเรียกอีกอย่างว่า ส่วนท้ายของ tema
๔.     la desinenza หรือ ส่วนท้าย คือ ส่วนท้ายสุดของคำ ที่ทำหน้าที่บอก เพศ, พจน์ และ caso
๕.     la terminazione หรือ uscita หรือ หางคำ คือ ส่วนที่ประกอบไปด้วย la vocale tematica และ la desinenza

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๑ ตัวอักษร พยัญชนะ และสระ

บทที่ ๑
ตัวอักษร พยัญชนะ และสระในภาษาละติน
ตัวอักษร

ตัวอักษรในภาษาละตินนั้น นำมาจากภาษากรีก มีทั้งหมด ๒๓ ตัว ดังนี้

ตัวพิมพ์ใหญ่ :
A    B    C    D    E    F    G    H    I     K     L      M     N     O     P     Q     R      S     T   V    X     Y     Z 
อา  บี    ชี    ดี    เอ  เอฟ  จี    อา   อี    กา   แอล  เอ็ม  เอ็น  โอ   พี     กู   แอร   เอส   ตี   อู   อิ๊ก    อิ  เซตา
a    b    c    d    e     f    g    h    i    k      l      m     n     o    p    q      r       s    t    u    x    y      z
ตัวพิมพ์เล็ก: (ออกเสียงเหมือนกับตัวพิมพ์ใหญ่)
ข้อสังเกต
๑.      ในตัวพิมพ์ใหญ่จะไม่มีตัวอักษร J, U และ W เหมือนในภาษาอังกฤษ
๒.    ในตัวพิมพ์เล็กจะไม่ปรากฏตัวอักษร j, v และ w เหมือนในภาษาอังกฤษ
๓.     ตัวอักษร V (อู) เมื่อเขียนตัวพิมพ์ใหญ่ จะใช้อักษร V (ตัว “วี” ในภาษาอังกฤษ) แต่เมื่อเขียนตัวพิมพ์เล็กจะใช้อักษร u (ตัว “ยู” ในภาษาอังกฤษ) แต่ออกทั้งอักษร V และ u ออกเสียงเหมือนกัน คืออ่านว่า “อู”
๔.     ตัวอักษร V และ u นั้น สามารถเป็นได้ทั้งพยัญชนะและสระ เมื่อทำหน้าที่เป็นสระ จะออกเสียงเป็น “สระอู” เมื่อทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ จะออกเสียงเป็นตัว “ว” ยกตัวอย่าง คำว่า uinum อ่านว่า วีนุม ถ้าเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดจะออกมาในรูปแบบนี้ VINVM อ่านว่า วีนุม เช่นเดียวกัน
๕.     อักษรตัว I และ i อ่านว่า “อี” ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งสระและพยัญชนะ ถ้าทำหน้าที่เป็นสระ จะออกเสียงเป็น “สระอี” หรือ “สระอิ” (ขึ้นอยู่กับกฎการออกเสียง) ถ้าทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ จะออกเสียงเป็นตัว “จ” ยกตัวอย่าง คำว่า Iesus อ่านว่า เจซุส
หมายเหตุ ส่วนการออกเสียงของอักษรตัวอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับภาษาอังกฤษที่เราคุ้นเคยกัน จะอธิบายภายหลัง แต่วิธีเรียนภาษาละตินที่ดีที่สุดคือ ต้องถอดภาษาอังกฤษออกจากสมอง ไปเก็บไว้ที่อื่นก่อน เพราะธรรมชาติของภาษาละตินกับภาษาอังกฤษนั้นต่างกันลิบลับ... ส่วนภาษาที่เป็นน้อง ๆ ของภาษาละตินคือ ภาษาอิตาเลียน ซึ่งพอจะเทียบเคียงกันได้ และไม่สับสนเท่าไรนัก ส่วนภาษาไทยนั้นไม่ต้องพูดถึง...คงจะใช้ได้ในการอธิบายการออกเสียงเท่านั้น

สระและสระผสมในภาษาละติน
สระเดี่ยวในภาษาละตินมีทั้งหมด ๕ ตัว ดังนี้
๑.     a (อา)
๒.   e (เอ)
๓.    i (อี)
๔.    o (โอ)
๕.    u (อู)
สำหรับอักษร y (อิบซีลอน) จะใช้กับคำที่มาจากภาษากรีกเท่านั้น โดยได้นำเข้ามาใช้ในศษวรรษที่ ๑ ก่อนคริสตกาล ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกัน เช่น
lyra                  อ่านว่า ลิรา
gypsum            อ่านว่า จิพซุม
Nysa                อ่านว่า นิซา (ชื่อประเทศหนึ่ง ในทวีปเอเชีย
ในการออกเสียงสระของภาษาละตินนั้น ยังมีเครื่องหมายกำกับเสียงยาวและเสียงสั้นอยู่ด้วย ดังนี้
๑.     สัญลักษณ์ ¯  ให้ออกเสียงยาว
๒.   สัญลักษณ์ ˇ   ให้ออกเสียงสั้น
ถ้าเราออกเสียงผิด บางคำที่เขียนเหมือนกัน ต่างกันแค่เครื่องหมายออกกำกับเสียงเท่านั้น ถ้าเราออกเสียงผิดความหมายก็ผิดไปด้วย ยกตัวอย่าง
Mālum อ่านว่า มาลูม แปลว่า แอบเปิ้ล
Mălum อ่านว่า มะลูม แปลว่า ความชั่วร้าย

สระผสม คือสระเดี่ยวสองตัวมารวมกันแล้วออกเสียงแค่เสียงเดียวเท่านั่น ที่ใช้มากมีอยู่ ๔ ตัวคือ
๑.     ae  ออกเสียงว่า            เอ
๒.   oe  ออกเสียงว่า            เอ
๓.    au  ออกเสียงว่า            เอา
๔.    eu  ออกเสียงว่า            เอว
นอกจากนี้ยังมี ei, ui, yi
ข้อสังเกต
๑.     สระผสม ae และ oe ออกเสียงว่า เอ เช่น “caelum” อ่านว่า เชลูม
๒.   แต่ก็มีคำจำนวนหนึ่งที่ใช้สระ oe แล้วออกเสียงตามที่เขียน ซึ่งคำส่วนใหญ่ในพวกนี้ เป็นภาษากรีกแบบดั้งเดิม เช่น “euhoe” อ่านว่า เออูโอเอ; “Oedĭpus” อ่านว่า โอเอดดิปูส
๓.    มีบางคำที่ ae และ oe  ที่ถูกกำหนดเสียงจากเดิมที่เป็นเสียงยาวให้กลายเป็นเสียงอย่างอื่น ให้อ่านสองพยางค์ เช่น aër อ่านว่า อาเอร
๔.    สระผสม au, eu, ei, ui ให้อ่านตามที่ปรากฏ: Europa, Euboea, audeo, nauta, cui
๕.    ส่วน yi ปัจจุบันใช้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษากรีก และจะออกเสียงเป็น ii หรือออกเสียงเหมือน ตัวเดียว เช่น Harpyia อ่านว่า อารปีอา

พยัญชนะในภาษาละติน
เมื่อเทียบกับการออกเสียงในภาษาไทย ได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้
b (บี)      =
c (ชี)      = ถ้าตามด้วยสระ e หรือ i ให้ออกเสียงเป็น “ช” แต่ถ้าตามด้วยสระอื่น ๆ ให้ออกเสียงเป็น “ก”
ch            =
d (ดี)      =
f (เอฟ)  =
g (จี)      = ถ้าตามด้วยสระ e หรือ i ให้ออกเสียงเป็น “ช” แต่ถ้าตามด้วยสระอื่น ๆ ให้ออกเสียงเป็น “ก”
gh           =
gn           = ญ (ให้ออกเสียงทางจมูก เหมือนคำว่า “ญุง” (ยุง) ในภาษาอีสาน)
h (อา)    = อ (จะไม่ออกเสียง)
i (อี)       = เมื่อใช้เป็นพยัญชนะ ให้ออกเสียงเป็น “จ” และส่วนใหญ่จะเป็นอักษรแรกของคำ แต่ถ้าอักษร “o” อยู่หลังอักษร i” และหน้ามีอักษรตัวอื่นอยู่ ให้ออกเสียงเป็น “ย”  
k (กา)    =
l (แอล)  =
m (เอ็ม) =
n (เอ็น)  =
p (พี)      =
ph           =
qu           = กว
r (แอร)  = ร (ต้องรัวลิ้นให้ชัดเจน เพื่อความแตกต่างกับอักษร “l”)
s (เอส)   =
t (ตี)       =
t + i        =  zi (ซี)  แต่ถ้ามีตัวอักษร t, s และ x อยู่หน้า “ti” ให้ออกเสียงเป็น ti (ติ)  
u (อู)      = เมื่อทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ ให้ออกเสียง “ว”
z (เซตา)                =

กึ่งพยัญชนะ
อย่างที่บอกไปแล้วว่าอักษร u และ i เป็นได้ทั้งสระและพยัญชนะ จึงขออธิบายอีกนิดหน่อย เพื่อความเข้าใจมากขึ้น การที่ทั้งสองจะเป็นพยัญชนะได้ มีอยู่สองกรณี คือ
๑.      เมื่อเป็นอักษรตัวแรกของคำ เช่น
Iulius อ่านว่า จูลิอูส
iustitia อ่านว่า จูสติเซีย
uestis อ่านว่า เวสติส
๒.    เมื่ออยู่กลางระหว่างสระกับสระ เช่น
peior อ่านว่า เพโยร์
nouem อ่านว่า โนเวม



การออกเสียงในภาษาละติน

การออกเสียงทางวิชาการ การออกเสียงแบบนี้ใช้กันในโรงเรียน ซึ่งได้พัฒนามากจากการออกเสียงในพระศาสนจักรของคริสตชน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ ๔-๕ เรียนกออกอย่างว่า การออกเสียงแบบ “ecclesiastica” หรือ “renovata” เป็นการนำมาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นวิชาการมากขึ้น โดยมีกฎการออกเสียงดังนี้
๑.      สระผสม ให้ออกเสียงตามที่เขียน ให้เน้นเสียง (accento) ที่สระตัวแรก เช่น Caesar อ่านว่า Káesar
๒.    พยัญชนะ C และ G ให้ออกเสียงหนัก รวมทั้งที่ตามด้วยสระ e และ i  ด้วย เช่น Cicĕro อ่านว่า Kíkero รวมถึงพยัญชนะ gn ก็ให้ออกเสียงหนัก ไม่ออกเสียงนาสิก ยกตัวอย่าง agnus ให้อ่านว่า อัก-นุส ไม่อ่านว่า อัก-หญุส (ข้อนี้อาจสับสนกับเรื่องพยัญชนะที่ผมได้กล่าวมาแล้ว เพราะผมเองก็ยังสับสนอยู่...ผมสันนิษฐานว่า การออกเสียงแบบนี้เป็นแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เดี๋ยวจะหาคำตอบมาให้นะครับ)
๓.     ตัว y ให้อออกเสียงเหมือน ü ในภาษาฝรั่งเศส
๔.     ตัว v ให้ออกเสียง u  (อู)
๕.     ตัว h ไม่ออกเสียง แต่เมื่อตามด้วยพยัญชนะ p, c และ t จะทำให้เสียงของพยัญชนะเหล่านี้เปลี่ยนไป เช่น ph ออกเสียงเป็น ฟ , ตัว ch ออกเสียงเป็น ค และ ตัว th ออกเสียงคล้าย ๆ กับ th ในภาษาอังกฤษ
๖.      ในคำจำพวก ti ให้ออกเสียงเหมือนที่เขียน คือ ที

พยางค์
พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมา หนึ่งเสียงที่เปล่งออกมา เรียกว่า หนึ่งพยางค์
๑.      ในกลุ่ม qu และ gu เมื่อ u อยู่ท้ายพยัญชนะ q และ g แล้วนั้น u จะไม่ทำหน้าที่สระ แต่จะรวมกับ q และ g เป็นหนึ่งเดียวกัน เช่น คำว่า antiquus อ่านว่า อัน-ติ-กุส ไม่อ่าน อัน-ติ-กู-อุส
๒.    ตัวอักษร I ซึ่งเป็น กึ่งพยัญชนะกึ่งสระ เมื่อเป็นอักษรตัวแรกของคำ และตามมาด้วยสระ u ให้ออกเสียงกึ่ง จ และกึ่ง ย เช่น จยู

การออกเสียงหรือการอ่าน
การเน้นเสียงหรือที่เรียกกันว่า การอ่านแบบมีแอคเซ่น ในภาษาละตินนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่ามันทำให้เข้าใจความหมายได้ชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน
การอ่านนั้นมีกฎเน้น ๆ อยู่แค่สามข้อเท่านั้นเอง
๑.      คำที่มีสี่พยางค์ ให้เน้นเสียงที่พยางค์ที่สามนับจากข้างหลัง นั่นหมายถึงคำนั้นต้องมีสี่พยางค์ขึ้นไป
๒.    คำที่มีสามพยางค์ ให้เน้นคำโดยดูที่เครื่องหมาย accento
๒.๑ ถ้าพยางค์รองสุดท้ายมีเครื่องหมายเน้นเสียงยาว ¯ ให้เน้นที่พยางค์รองสุดท้าย ตรงนั้นเลยไม่ต้องลังเล
๒.๒ ถ้าพยางค์รองสุดท้ายมีเครื่องหมายเน้นเสียงสั้น ˇ ให้เน้นที่พยางค์ที่สามนับจากข้างหลังหรือให้เน้นพยางค์หน้าเครื่องหมายนี้
๓.     ถ้าคำไหนมีสองพยางค์ ให้เน้นที่พยางค์แรก