BLOGGER TEMPLATES AND TWITTER BACKGROUNDS

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทที่ ๑ ตัวอักษร พยัญชนะ และสระ

บทที่ ๑
ตัวอักษร พยัญชนะ และสระในภาษาละติน
ตัวอักษร

ตัวอักษรในภาษาละตินนั้น นำมาจากภาษากรีก มีทั้งหมด ๒๓ ตัว ดังนี้

ตัวพิมพ์ใหญ่ :
A    B    C    D    E    F    G    H    I     K     L      M     N     O     P     Q     R      S     T   V    X     Y     Z 
อา  บี    ชี    ดี    เอ  เอฟ  จี    อา   อี    กา   แอล  เอ็ม  เอ็น  โอ   พี     กู   แอร   เอส   ตี   อู   อิ๊ก    อิ  เซตา
a    b    c    d    e     f    g    h    i    k      l      m     n     o    p    q      r       s    t    u    x    y      z
ตัวพิมพ์เล็ก: (ออกเสียงเหมือนกับตัวพิมพ์ใหญ่)
ข้อสังเกต
๑.      ในตัวพิมพ์ใหญ่จะไม่มีตัวอักษร J, U และ W เหมือนในภาษาอังกฤษ
๒.    ในตัวพิมพ์เล็กจะไม่ปรากฏตัวอักษร j, v และ w เหมือนในภาษาอังกฤษ
๓.     ตัวอักษร V (อู) เมื่อเขียนตัวพิมพ์ใหญ่ จะใช้อักษร V (ตัว “วี” ในภาษาอังกฤษ) แต่เมื่อเขียนตัวพิมพ์เล็กจะใช้อักษร u (ตัว “ยู” ในภาษาอังกฤษ) แต่ออกทั้งอักษร V และ u ออกเสียงเหมือนกัน คืออ่านว่า “อู”
๔.     ตัวอักษร V และ u นั้น สามารถเป็นได้ทั้งพยัญชนะและสระ เมื่อทำหน้าที่เป็นสระ จะออกเสียงเป็น “สระอู” เมื่อทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ จะออกเสียงเป็นตัว “ว” ยกตัวอย่าง คำว่า uinum อ่านว่า วีนุม ถ้าเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมดจะออกมาในรูปแบบนี้ VINVM อ่านว่า วีนุม เช่นเดียวกัน
๕.     อักษรตัว I และ i อ่านว่า “อี” ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งสระและพยัญชนะ ถ้าทำหน้าที่เป็นสระ จะออกเสียงเป็น “สระอี” หรือ “สระอิ” (ขึ้นอยู่กับกฎการออกเสียง) ถ้าทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ จะออกเสียงเป็นตัว “จ” ยกตัวอย่าง คำว่า Iesus อ่านว่า เจซุส
หมายเหตุ ส่วนการออกเสียงของอักษรตัวอื่น ๆ ที่ไม่ตรงกับภาษาอังกฤษที่เราคุ้นเคยกัน จะอธิบายภายหลัง แต่วิธีเรียนภาษาละตินที่ดีที่สุดคือ ต้องถอดภาษาอังกฤษออกจากสมอง ไปเก็บไว้ที่อื่นก่อน เพราะธรรมชาติของภาษาละตินกับภาษาอังกฤษนั้นต่างกันลิบลับ... ส่วนภาษาที่เป็นน้อง ๆ ของภาษาละตินคือ ภาษาอิตาเลียน ซึ่งพอจะเทียบเคียงกันได้ และไม่สับสนเท่าไรนัก ส่วนภาษาไทยนั้นไม่ต้องพูดถึง...คงจะใช้ได้ในการอธิบายการออกเสียงเท่านั้น

สระและสระผสมในภาษาละติน
สระเดี่ยวในภาษาละตินมีทั้งหมด ๕ ตัว ดังนี้
๑.     a (อา)
๒.   e (เอ)
๓.    i (อี)
๔.    o (โอ)
๕.    u (อู)
สำหรับอักษร y (อิบซีลอน) จะใช้กับคำที่มาจากภาษากรีกเท่านั้น โดยได้นำเข้ามาใช้ในศษวรรษที่ ๑ ก่อนคริสตกาล ซึ่งจะออกเสียงเหมือนกัน เช่น
lyra                  อ่านว่า ลิรา
gypsum            อ่านว่า จิพซุม
Nysa                อ่านว่า นิซา (ชื่อประเทศหนึ่ง ในทวีปเอเชีย
ในการออกเสียงสระของภาษาละตินนั้น ยังมีเครื่องหมายกำกับเสียงยาวและเสียงสั้นอยู่ด้วย ดังนี้
๑.     สัญลักษณ์ ¯  ให้ออกเสียงยาว
๒.   สัญลักษณ์ ˇ   ให้ออกเสียงสั้น
ถ้าเราออกเสียงผิด บางคำที่เขียนเหมือนกัน ต่างกันแค่เครื่องหมายออกกำกับเสียงเท่านั้น ถ้าเราออกเสียงผิดความหมายก็ผิดไปด้วย ยกตัวอย่าง
Mālum อ่านว่า มาลูม แปลว่า แอบเปิ้ล
Mălum อ่านว่า มะลูม แปลว่า ความชั่วร้าย

สระผสม คือสระเดี่ยวสองตัวมารวมกันแล้วออกเสียงแค่เสียงเดียวเท่านั่น ที่ใช้มากมีอยู่ ๔ ตัวคือ
๑.     ae  ออกเสียงว่า            เอ
๒.   oe  ออกเสียงว่า            เอ
๓.    au  ออกเสียงว่า            เอา
๔.    eu  ออกเสียงว่า            เอว
นอกจากนี้ยังมี ei, ui, yi
ข้อสังเกต
๑.     สระผสม ae และ oe ออกเสียงว่า เอ เช่น “caelum” อ่านว่า เชลูม
๒.   แต่ก็มีคำจำนวนหนึ่งที่ใช้สระ oe แล้วออกเสียงตามที่เขียน ซึ่งคำส่วนใหญ่ในพวกนี้ เป็นภาษากรีกแบบดั้งเดิม เช่น “euhoe” อ่านว่า เออูโอเอ; “Oedĭpus” อ่านว่า โอเอดดิปูส
๓.    มีบางคำที่ ae และ oe  ที่ถูกกำหนดเสียงจากเดิมที่เป็นเสียงยาวให้กลายเป็นเสียงอย่างอื่น ให้อ่านสองพยางค์ เช่น aër อ่านว่า อาเอร
๔.    สระผสม au, eu, ei, ui ให้อ่านตามที่ปรากฏ: Europa, Euboea, audeo, nauta, cui
๕.    ส่วน yi ปัจจุบันใช้น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นคำที่มาจากภาษากรีก และจะออกเสียงเป็น ii หรือออกเสียงเหมือน ตัวเดียว เช่น Harpyia อ่านว่า อารปีอา

พยัญชนะในภาษาละติน
เมื่อเทียบกับการออกเสียงในภาษาไทย ได้ผลลัพธ์ดังต่อไปนี้
b (บี)      =
c (ชี)      = ถ้าตามด้วยสระ e หรือ i ให้ออกเสียงเป็น “ช” แต่ถ้าตามด้วยสระอื่น ๆ ให้ออกเสียงเป็น “ก”
ch            =
d (ดี)      =
f (เอฟ)  =
g (จี)      = ถ้าตามด้วยสระ e หรือ i ให้ออกเสียงเป็น “ช” แต่ถ้าตามด้วยสระอื่น ๆ ให้ออกเสียงเป็น “ก”
gh           =
gn           = ญ (ให้ออกเสียงทางจมูก เหมือนคำว่า “ญุง” (ยุง) ในภาษาอีสาน)
h (อา)    = อ (จะไม่ออกเสียง)
i (อี)       = เมื่อใช้เป็นพยัญชนะ ให้ออกเสียงเป็น “จ” และส่วนใหญ่จะเป็นอักษรแรกของคำ แต่ถ้าอักษร “o” อยู่หลังอักษร i” และหน้ามีอักษรตัวอื่นอยู่ ให้ออกเสียงเป็น “ย”  
k (กา)    =
l (แอล)  =
m (เอ็ม) =
n (เอ็น)  =
p (พี)      =
ph           =
qu           = กว
r (แอร)  = ร (ต้องรัวลิ้นให้ชัดเจน เพื่อความแตกต่างกับอักษร “l”)
s (เอส)   =
t (ตี)       =
t + i        =  zi (ซี)  แต่ถ้ามีตัวอักษร t, s และ x อยู่หน้า “ti” ให้ออกเสียงเป็น ti (ติ)  
u (อู)      = เมื่อทำหน้าที่เป็นพยัญชนะ ให้ออกเสียง “ว”
z (เซตา)                =

กึ่งพยัญชนะ
อย่างที่บอกไปแล้วว่าอักษร u และ i เป็นได้ทั้งสระและพยัญชนะ จึงขออธิบายอีกนิดหน่อย เพื่อความเข้าใจมากขึ้น การที่ทั้งสองจะเป็นพยัญชนะได้ มีอยู่สองกรณี คือ
๑.      เมื่อเป็นอักษรตัวแรกของคำ เช่น
Iulius อ่านว่า จูลิอูส
iustitia อ่านว่า จูสติเซีย
uestis อ่านว่า เวสติส
๒.    เมื่ออยู่กลางระหว่างสระกับสระ เช่น
peior อ่านว่า เพโยร์
nouem อ่านว่า โนเวม



การออกเสียงในภาษาละติน

การออกเสียงทางวิชาการ การออกเสียงแบบนี้ใช้กันในโรงเรียน ซึ่งได้พัฒนามากจากการออกเสียงในพระศาสนจักรของคริสตชน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ ๔-๕ เรียนกออกอย่างว่า การออกเสียงแบบ “ecclesiastica” หรือ “renovata” เป็นการนำมาเรียบเรียงใหม่ให้เป็นวิชาการมากขึ้น โดยมีกฎการออกเสียงดังนี้
๑.      สระผสม ให้ออกเสียงตามที่เขียน ให้เน้นเสียง (accento) ที่สระตัวแรก เช่น Caesar อ่านว่า Káesar
๒.    พยัญชนะ C และ G ให้ออกเสียงหนัก รวมทั้งที่ตามด้วยสระ e และ i  ด้วย เช่น Cicĕro อ่านว่า Kíkero รวมถึงพยัญชนะ gn ก็ให้ออกเสียงหนัก ไม่ออกเสียงนาสิก ยกตัวอย่าง agnus ให้อ่านว่า อัก-นุส ไม่อ่านว่า อัก-หญุส (ข้อนี้อาจสับสนกับเรื่องพยัญชนะที่ผมได้กล่าวมาแล้ว เพราะผมเองก็ยังสับสนอยู่...ผมสันนิษฐานว่า การออกเสียงแบบนี้เป็นแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เดี๋ยวจะหาคำตอบมาให้นะครับ)
๓.     ตัว y ให้อออกเสียงเหมือน ü ในภาษาฝรั่งเศส
๔.     ตัว v ให้ออกเสียง u  (อู)
๕.     ตัว h ไม่ออกเสียง แต่เมื่อตามด้วยพยัญชนะ p, c และ t จะทำให้เสียงของพยัญชนะเหล่านี้เปลี่ยนไป เช่น ph ออกเสียงเป็น ฟ , ตัว ch ออกเสียงเป็น ค และ ตัว th ออกเสียงคล้าย ๆ กับ th ในภาษาอังกฤษ
๖.      ในคำจำพวก ti ให้ออกเสียงเหมือนที่เขียน คือ ที

พยางค์
พยางค์ หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมา หนึ่งเสียงที่เปล่งออกมา เรียกว่า หนึ่งพยางค์
๑.      ในกลุ่ม qu และ gu เมื่อ u อยู่ท้ายพยัญชนะ q และ g แล้วนั้น u จะไม่ทำหน้าที่สระ แต่จะรวมกับ q และ g เป็นหนึ่งเดียวกัน เช่น คำว่า antiquus อ่านว่า อัน-ติ-กุส ไม่อ่าน อัน-ติ-กู-อุส
๒.    ตัวอักษร I ซึ่งเป็น กึ่งพยัญชนะกึ่งสระ เมื่อเป็นอักษรตัวแรกของคำ และตามมาด้วยสระ u ให้ออกเสียงกึ่ง จ และกึ่ง ย เช่น จยู

การออกเสียงหรือการอ่าน
การเน้นเสียงหรือที่เรียกกันว่า การอ่านแบบมีแอคเซ่น ในภาษาละตินนั้นถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่ามันทำให้เข้าใจความหมายได้ชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน
การอ่านนั้นมีกฎเน้น ๆ อยู่แค่สามข้อเท่านั้นเอง
๑.      คำที่มีสี่พยางค์ ให้เน้นเสียงที่พยางค์ที่สามนับจากข้างหลัง นั่นหมายถึงคำนั้นต้องมีสี่พยางค์ขึ้นไป
๒.    คำที่มีสามพยางค์ ให้เน้นคำโดยดูที่เครื่องหมาย accento
๒.๑ ถ้าพยางค์รองสุดท้ายมีเครื่องหมายเน้นเสียงยาว ¯ ให้เน้นที่พยางค์รองสุดท้าย ตรงนั้นเลยไม่ต้องลังเล
๒.๒ ถ้าพยางค์รองสุดท้ายมีเครื่องหมายเน้นเสียงสั้น ˇ ให้เน้นที่พยางค์ที่สามนับจากข้างหลังหรือให้เน้นพยางค์หน้าเครื่องหมายนี้
๓.     ถ้าคำไหนมีสองพยางค์ ให้เน้นที่พยางค์แรก

2 ความคิดเห็น:

สาวแว่นใส กล่าวว่า...

น่าสนใจดีนะคะ อยากเรียนขึ้นมาซะแล้ว

Unknown กล่าวว่า...

เห็นด้วยครับ